เมนู

ชนทั้งหลายกล่าวว่า ข้าพเจ้าให้ทาส ทาสี นา สวน โค กระบือ
แก่ปราสาท. ไม่มีกิจจะรับแผนกหนึ่ง เมื่อรับปราสาท ก็เป็นอันรับไว้ด้วยแท้.
จะใช้สอยผ้าปูลาดโกเชาว์เป็นต้น บนเตียงและตั่ง ในกุฎีเป็นของส่วนตัวบุคคล
ไม่ควร.
แต่ที่เขาปูลาดไว้บนธรรมาสน์ ย่อมได้เพื่อใช้สอยโดยทำนองคิหิวิกัติ .
แม้บนธรรมาสน์นั้น ไม่ควรนอน.

[ว่าด้วยครุกัณฑ์]


บทว่า ปญฺจิมานิ มีความว่า ครุภัณฑ์ทั้งหลาย ว่าด้วยอำนาจ
หมวดมี 5 หมวด. ก็ครุภัณฑ์เหล่านี้ ว่าด้วยอำนาจรวม ย่อมมีมากหลาย
บรรดาครุภัณฑ์เหล่านั้น สวนดอกไม้หรือสวนผลไม้ ชื่ออาราม.
โอกาสที่เขากำหนดทั้งไว้ เพื่อประโยชน์แก่อารามเหล่านั้นเอง หรือเมื่ออาราม
เหล่านั้นร้างไปแล้ว ภูมิภาคเก่แห่งอารามนั้น ชื่ออารามวัตถุ.
เสนาสนะมีปราสาทเป็นต้น ชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อวิหาร.
โอกาสเป็นที่ประดิษฐานเสนาสนะ มีปราสาทเป็นต้นนั้น ชื่อวิหาร
วัตถุ.
บรรดาเตียง 4 ชนิดที่กล่าวแล้วในหนหลังเหล่านี้ คือ เตียงมีแม่แคร่
สอดเข้าในขา, เตียงมีปลายเท้าร้อยด้วยไม่สลัก, เตียงมีขางอดังก้ามปู, เตียงมี
ขาจดแม่แคร่, ชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่าเตียง.
บรรดาตั่ง 4 ชนิด มีตั่งมีแม่แคร่สอดเข้าในขาเป็นต้น ชนิดใดชนิด
หนึ่ง ชื่อว่าตั่ง.
บรรดาฟูก 5 ชนิด มีฟูกที่ยัดด้วยขนสัตว์เป็นต้น ชนิดใดชนิดหนึ่ง
ชื่อว่าฟูก.

บรรดาหมอนมีประการดังกล่าวแล้ว ชนิดใดชนิดหนึ่ง ชื่อว่าหมอน.
หม้อที่ทำด้วยโลหะ ชนิดใดชนิดหนึ่ง เป็นเหล็กก็ตาม เป็นทองแดง
ก็ตาม ชื่อว่าหม้อโลหะ. แม้ในอ่างโลหะเป็นต้น ก็มีนัยเหมือนกัน. ก็ในอ่าง
โลหะเป็นต้นนี้ ไหเรียกว่าอ่าง, หม้อน้ำเรียกว่าขวด. กระทะนั้นเองเรียกว่า
กระทะ. ในเครื่องมือมีพร้าโต้เป็นต้น และในเครื่องใช้มีเถาวัลย์เป็นต้น ขึ้น
ชื่อว่าสิ่งที่รู้จักยาก ย่อมไม่มี.
พระโลกนาถผู้มีจักษุปราศจากมลทิน 5 ดวง ทรงประกาศครุภัณฑ์
25 อย่าง โดยหมวด 5 อย่างนี้ คือ 2 หมวดสงเคราะห์ครุภัณฑ์ หมวดละ
2 สิ่ง, หมวดที่ 3 นับครุภัณฑ์ได้ 4 สิ่ง หมวดที่ 4 มี 9 สิ่ง, หมวดที่ 5
จำแนกเป็น 8 สิ่ง ด้วยประการฉะนี้.
วินิจฉัยกถาในครุภัณฑ์นั้น พึงทราบดังต่อไปนี้ :-
ก็ครุภัณฑ์แม้ทั้งปวงนี้ แม้ในเสนาสนักขันธกะนี้ ท่านกล่าวว่า ไม่
ควรแจก. ส่วนในคัมภีร์ปริวารมาแล้วว่า:
ครุภัณฑ์ 5 หมวด พระพุทธเจ้าผู้แสวงคุณใหญ่ตรัสว่า ไม่ควรสละ
ไม่ควรแจก. แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้สละ ผู้ใช้สอย ; ปัญหาข้อนี้ ท่านผู้
ฉลาดทั้งหลายคิดกันแล้ว.
เพราะเหตุนั้น พึงทราบอธิบายินในคำนี้ อย่างนี้ว่า ครุภัณฑ์นี้ ที่ว่า
ไม่ควรสละ ไม่ควรแจก ด้วยอำนาจขาดตัวนั้น แต่เมื่อภิกษุผู้สละและใช้สอย
ด้วยอำนาจการแลกเปลี่ยน ไม่เป็นอาบัติ.
อนุปุพพีกถาในครุภัณฑ์นั้น ดังนี้: -
ไม่ควรน้อมครุภัณฑ์แม้ทั้ง 5 ชนิดนี้เข้าไป เพื่อประโยชน์แก่จีวร
บิณฑบาตและเภสัชก่อน. แต่จะเอาถาวรวัตถุแลกกับถาวรวัตถุและเอาครุภัณฑ์
แลกกับครุภัณฑ์ ควรอยู่.

ส่วนในถาวรวัตถุ, ถาวรวัตถุเห็นปานนี้ คือ นา ที่นา บึงเหมือง
ภิกษุจะจัดการหรือจะรับหรือจะอนุมัติแทนสงฆ์ ไม่ควร.
ถาวรวัตถุนั้น อันกัปปิยการกนั่นแลจัดการ, กัปปิยภัณฑ์ได้มาจาก
ถาวรวัตถุเห็นปานนั้น ควรอยู่.
อนึ่ง จะเอาอารามแลกถาวรวัตถุทั้ง 4 อย่างนี้ คือ อาราม อารามวัตถุ
วิหาร วิหารวัตถุ ควรอยู่.

[ปริวัตนนัย]


ปริวัตนนัยในครุภัณฑ์ 4 อย่างมีอารามเป็นต้น นั้น ดังนี้:-.
สวนมะพร้าวของสงฆ์อยู่ไกล, ทั้งพวกกัปปิยการกกินเสียมากกว่ามาก,
แม้ที่ไม่ได้กินก็ต้องชักออกให้ค่าจ้างเกวียนเสีย นำมาถวายน้อย เต็มที.
ส่วนคนเหล่าอื่นที่อยู่ในบ้านซึ่งไม่ไกลสวนนั้น มีสวนอยู่ใกล้วัด. เขา
เข้าไปหาสงฆ์ขอเอาสวนของตนแลกเอาสวนนั้น สงฆ์พึงอปโลกน์ว่า สงฆ์เห็น
ชอบ แล้วรับเถิด.
ถึงแม้ว่า สวนของพวกภิกษุมีต้นไม้ตั้งพันต้น, สวนของชาวบ้าน
มีต้นไม้ห้าร้อย ; (ถ้ามีผลมากกว่า) ก็ไม่ควรเกี่ยงว่า สวนของท่านเล็ก. เพราะ
สวนนี้เล็กก็จริง, แต่ที่แท้ สวนนี้ย่อมให้ผลมากกว่าสวนนอกจากนี้.
ถึงแม้ว่า สวนนี้จะให้ผลเท่า ๆ กัน, แม้อย่างนั้นจะยอมรับด้วยมุ่ง
หมายว่า สามารถบริโภคได้ทุกขณะที่ต้องการ ก็ควร.
แต่ถ้า สวนของพวกชาวบ้านมีต้นไม้มากกว่า, พึงกล่าวว่า ต้นไม้
ของพวกท่านมีมากกว่ามิใช่หรือ ? ถ้าเขาตอบว่า ส่วนที่เกินเลยไป จงเป็น
บุญของพวกข้าพเจ้า ๆ ถวายสงฆ์. สมควรให้ภิกษุสงฆ์ทราบแล้วจึงรับไว้.